โรคริดสีดวงทวารพบได้กับทุกเพศทุกวัย เกิดจากการเบ่งถ่ายรุนแรงและเรื้อรัง เพราะผู้ที่ท้องผูกต้องเบ่งอย่างรุนแรงเวลาขับถ่ายจึงทำให้เลือดคั่งในเส้นเลือดดำที่ผนังรูทวารหนัก ส่งผลให้กลุ่มเส้นเลือดและเนื้อเยื่อบริเวณส่วนปลายของลำไส้โตเกิดเป็นริดสีดวงทวาร ปัจจัยของโรคนอกจากการเบ่งถ่ายรุนแรงแล้ว สามารถเกิดจากท้องผูกเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระบ่อยๆ นั่งถ่ายเป็นเวลานานๆ เช่น อ่านหนังสือพร้อมกับขับถ่าย หญิงตั้งครรภ์ ภาวะตับแข็ง อายุมากขึ้น
โรคริดสีดวงทวารมี 2 แบบคือ ริดสีดวงทวารภายใน และภายนอก
- ริดสีดวงทวารภายใน คือริดสีดวงที่อยู่เหนือเส้นสมมุติ (dentate line) แบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 ไม่มีก้อนยื่นออกมานอกทวารหนัก ระยะที่ 2 มีก้อนยื่นออกมาขณะเบ่งอุจจาระและหดกลับเข้าไปได้เอง ระยะที่ 3 มีก้อนยื่นออกมาขณะเบ่งอุจจาระแต่ไม่หดกลับเข้าไปต้องใช้มือช่วยดันเข้าไป ระยะที่ 4 มีก้อนยื่นออกมาและไม่สามารถใช้มือดันเข้าไปได้ต้องผ่าตัดริดสีดวงทวาร
- ริดสีดวงภายนอก คือ ริดสีดวงที่อยู่ใต้เส้น Dentate line อยู่นอกบริเวณทวารหนัก อาจมีก้อนคลำได้ ส่วนที่คลุมก้อนจะเป็นผิวหนังมักมีอาการคัน และเจ็บ ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ดังนี้
ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หลังการถ่ายอุจจาระ ลักษณะเลือดจะเป็นเลือดสดๆ ไม่มีมูกเลือดปน
มีก้อนยื่นออกมาระหว่างถ่ายอุจจาระ หรือมีก้อนออกมาตลอดเวลา
เจ็บบริเวณทวารหนัก เฉพาะระยะที่ 4 ต้องผ่าตัดริดสีดวงทวาร
การจัดการริดสีดวงทวาร
แพทย์จะพิจารณาจากอาการและระดับความรุนแรงของโรค ระยะที่ 1 เน้นการใช้ยาและการปฏิบัติตัว ระยะที่ 2 และระยะที่3 (ในช่วงแรก) ใช้ยา การปฏิบัติตัว รวมถึงบางกรณีอาจใช้ยางชนิดพิเศษในการรัดริดสีดวงทวาร และสุดท้ายระยะ 3 (ขนาดค่อนข้างใหญ่) และระยะที่ 4 ต้องจัดการด้วยการผ่าตัดริดสีดวงทวาร
การป้องกันตนเอง
- อาหาร รับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มกากใย ประเภทผัก ผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำไม่น้อยกว่าวันละ 2 ลิตร หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดและมัน ลดอาหารประเภทเนื้อสัตว์
- การขับถ่าย หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายไม่ใช้เวลาในการถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน ถ่ายให้เป็นเวลา โดยเฉพาะตอนเช้าแช่ก้นในน้ำอุ่น